简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:หน่วยงานกำกับดูแลของออสเตรเลียฟ้อง eToro สำหรับการซื้อขาย CFD
ASIC หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของออสเตรเลียกำลังฟ้องร้อง eToro Aus Capital Limited (eToro) เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) เนื่องจากแพลตฟอร์มการซื้อขายมีการประเมินความเหมาะสมของนักลงทุนรายย่อยในการลงทุนเพียงพอหรือไม่สำหรับ CFD ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของ eToro นั้นมีการสูญเสียเงิน และการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนนั้นไม่เพียงพอที่จะประเมินว่าลูกค้ารายย่อยน่าจะอยู่ในเป้าหมายหรือไม่ในตลาด
ASIC เห็นว่าสิ่งนี้อาจจะส่งผลให้มีลูกค้ารายย่อยจำนวนมากได้รับผลจากการลงทุน CFD ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุน สถานการณ์ทางการเงิน และความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อนักลงทุนได้
ASIC อ้างว่าระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2021 ถึง 14 มิถุนายน 2023 ลูกค้าของ eToro เกือบ 20,000 รายสูญเสียเงินจากการซื้อขาย CFD และระบุว่า 77% ของบัญชีนักลงทุนรายย่อยสูญเสียเงินเมื่อซื้อขาย CFD กับ eToro ซึ่งทาง ASIC รู้สึกผิดหวังกับกรณีดังกล่าว เนื่องจาก eToro มีกลุ่มลูกค้าทั้งในออสเตรเลียและทั่วโลก
ASIC ได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีกว่า : หากลูกค้ารายย่อยยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางแต่ไม่ใช่นักลงทุนที่มีประสบการณ์และไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของการซื้อขาย CFD ลูกค้ารายนั้นยังคงอยู่ในตลาดเป้าหมาย
การประเมินความเหมาะสมในการลงทุน eToro เป็นเรื่องยากมากที่จะไม่ผ่านการประเมิน เช่น ลูกค้าสามารถแก้ไขคำตอบได้โดยไม่จำกัด และลูกค้าจะได้รับคำแนะนำหากพวกเขาเลือกคำตอบที่อาจส่งผลให้คำตอบของพวกเขาไม่ผ่านการประเมิน
ASIC กล่าวเพิ่มเติมว่า eToro ไม่ได้ทำทุกสิ่งที่จำเป็นพอ เพื่อให้แน่ใจว่าบริการทางการเงินที่ครอบคลุมโดยใบอนุญาตของบริษัทได้รับการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ซื่อสัตย์ และเป็นธรรมโดยใช้การประเมินความเหมาะสมในการลงทุนเพื่อตรวจสอบว่าจะออกผลิตภัณฑ์ CFD ให้กับลูกค้ารายย่อยหรือไม่
ทาง ASIC กังวลว่าการทดสอบคัดกรองของ eToro ทำให้ลูกค้าเห็นผลิตภัณฑ์ CFD อย่างไม่เหมาะสม ผู้ให้บริการจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขา และเป็นไปตามภาระหน้าที่ในการออกแบบและการจัดจำหน่าย ซึ่งกำลังขอคำชี้แจงและบทลงโทษทางการเงินจากศาล และศาลยังไม่กำหนดวันนัดพิจารณาคดีครั้งแรก
ที่มา : ASIC
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
ก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดเหยี่ยวอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! ตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
GVD Markets ออกคำเตือนด่วนถึงนักเทรดทั่วโลก หลังพบเว็บไซต์ปลอมในอินโดนีเซียแอบอ้างชื่อและโลโก้ของบริษัท เพื่อหลอกลวงให้ผู้ใช้ฝากเงิน ก่อนยึดทรัพย์สินโดยผิดกฎหมาย เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงิน GVD Markets จึงร่วมกับ WikiFX เร่งตรวจสอบ พร้อมแนะนำให้นักเทรดตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ และรายงานกิจกรรมต้องสงสัยทันที เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงออนไลน์ในอนาคต
Michael Bamber เทรดเดอร์สายกองทุน แชร์ 5 หลักการเร่งเส้นทางสู่ความสำเร็จในตลาด Forex โดยไม่ต้องลองผิดลองถูกนานปี เน้นวินัย ระบบความเสี่ยงที่ชัดเจน คุมขาดทุนรายวัน มีกลยุทธ์สำรอง และควบคุม Drawdown จุดสำคัญคือ “อยู่รอด” ไม่ใช่แค่ “ได้เยอะ” – เพราะตลาดมีทุกวัน แต่พอร์ตพังได้แค่ครั้งเดียว.
บทความนี้พาผู้อ่านไปรู้จักกับ “ดาร์กเว็บ” พื้นที่ลับของอินเทอร์เน็ตที่มักใช้ในการซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย เช่น บัญชีการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต และซอฟต์แวร์แฮกระบบ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเทรด โดยเฉพาะในยุคที่การลงทุนเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์อย่างแน่นแฟ้น บทความยังแนะนำวิธีป้องกันตัวเอง 5 ข้อ เช่น ใช้ 2FA และตั้งรหัสผ่านอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหลุดไปยังพื้นที่อันตรายเหล่านี้ พร้อมย้ำว่า “การรู้เท่าทัน” คือเกราะป้องกันชั้นแรกของนักลงทุนยุคดิจิทัล.
วงการคริปโตในไทยอาจได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ หลัง Binance มีแนวโน้มจะถอด “เงินบาท” ออกจากระบบซื้อขายแบบ P2P ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ก.ล.ต. ไทยออกมาตรการควบคุมธุรกรรมคริปโตอย่างเข้มงวด เพื่อต่อสู้กับบัญชีม้าและการฟอกเงิน โดย Binance ยังไม่ระบุวันชัดเจน แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อพฤติกรรมนักลงทุนและภาพรวมตลาดคริปโตในประเทศ.