简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ปลอมเฟซหลอกลงทุน ชวนเทรดคริปโต สูญเงินกว่า 20 ล้านบาท
วันที่ 28 ส.ค.66 น.ส.อรการ จิวะเกียรติ ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง และอดีตผู้ว่าการการประปานครหลวง ในฐานะผู้เสียหาย เดินทางไปที่กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 (บก.สอท.1) เพื่อแจ้งความดำเนินคดี หลังถูกมิจฉาชีพหลอกให้ลงทุนคริปโต สูญเงินไปกว่า 20 ล้านบาท
อดีตผู้ว่าการการประปานครหลวง เผยว่า เมื่อช่วงต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา มีเฟซบุ๊กอ้างชื่อ น.ส.อรการ ผู้ประกาศข่าว ทักเข้ามาพูดคุยทำความรู้จัก ซึ่งรู้สึกว่าคุยถูกคอ จากนั้นคนร้ายได้ชักชวนให้พูดคุยต่อกันทางแอปพลิเคชันไลน์ ลักษณะการคุยเป็นลักษณะเชิงชู้สาว จากนั้นคนร้ายเริ่มชักชวนให้เทรดคริปโต ครั้งแรกลงทุนไป 2 หมื่นบาท ได้กำไรมา 4,000 บาท จึงหลงเชื่อ และลงทุนเรื่อย ๆ
ในระหว่างที่มีการคุยผ่านทางไลน์ เฟซบุ๊กของผู้ก่อเหตุพบว่า มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีการโพสต์ไลฟ์สไตล์ต่างๆ ที่มีความคล้ายคลึงกับชีวิตของผู้ประกาศข่าว ซึ่งช่วงเวลาที่คนร้ายทักมาพูดคุย ก็จะเป็นช่วงเวลาที่สอดคล้องกับเวลาเลิกอ่านข่าว มีการวิดีโอคอลหากันก็จริง แต่ไม่ได้เป็นภาพเคลื่อนไหว เป็นภาพนิ่งของผู้ประกาศข่าว จึงยิ่งหลงเชื่อเพราะกล้าที่จะพูดคุยกัน ในระหว่างที่มีการลงทุนคนร้ายอ้างว่าเดี๋ยวจะร่วมลงทุนด้วย 3.4 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในช่วงเวลาเทศกาลสำคัญมีการบอกว่า จะนำผลกำไรที่เทรดได้ไปเที่ยวต่างประเทศและทำบุญร่วมกัน ในการพูดคุยเคยมีการนัดเจอกันด้วย แต่พอถึงเวลานัดหมายคนร้ายมักจะมีข้ออ้างเสมอ
แต่ก็มีจุดสังเกตผิดปกติตรงที่เวลาตนเทรดเองจะขาดทุน แต่ถ้าเทรดตามที่เขาบอกมักจะได้กำไรมากกว่า ช่วงหลัง ๆ เริ่มรู้สึกว่ามีการลงทุนไปเยอะ จึงให้คนร้ายถอนเงินออกมาบ้าง แต่กลับพบว่าไม่สามารถนำเงินออกจากระบบได้ จึงคิดได้ว่าตนเองอาจโดนหลอกก็ได้ ซึ่งจากพฤติการณ์ทั้งหมดนี้ที่ตนหลงเชื่อ ทำให้สูญเงินเกือบ 20 ล้านบาท ในระยะเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น
ด้านผู้ประกาศข่าว กล่าวว่า คดีนี้ถือว่าตนเป็นผู้เสียหายเพราะถูกนำภาพและไลฟ์สไตล์ไปปลอม และหลอกผู้เสียหาย ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยรู้เรื่องที่เกิดขึ้น กระทั่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้เดินทางไปต่างประเทศและได้รับการประสานจากทางทีมงานว่า มีคนร้ายปลอมเฟซบุ๊กและไปหลอกผู้เสียหายสูญเงินหลาย 10 ล้านบาท ทันทีที่ทราบเรื่องทำให้ตนรู้สึกตกใจมาก จึงประสานทีมงานและร่วมหารือกัน สุดท้ายสรุปว่าจะเข้าแจ้งความเอาผิดผู้กระทำผิด และขอยืนยันว่าไม่ได้เล่นเฟซบุ๊กแล้ว หากมีเฟซบุ๊กที่แอบอ้างชื่อตนทักไปอย่าหลงเชื่อ และหากใครเสียหายให้ดำเนินการแจ้งความทันที
และลักษณะกลลวงของผู้เสียหายในเคสนี้ คือการหลอกลวงแบบไฮบริด สแกม คือการพูดคุยติดต่อผ่านทางช่องทางออนไลน์ จากนั้นจะหลอกล่อให้รัก และเชื่อใจ ก่อนจะหลอกให้ลงทุน ซึ่งในเคสผู้เสียหายรายนี้ มีการโอนเงินออกไปกว่า 24 บัญชี จำนวน 33 ครั้ง เป็นเงินเกือบ 20 ล้านบาท
ที่มา : khaosod
ซึ่งการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีเสียก่อนหากเรามีความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งที่เราต้องการลงทุนก็ยิ่งได้เปรียบ และอย่าใจร้อน เร่งรีบ ยิ่งถ้าหากพูดคุยกับคนผ่านสื่อโซเชียลออนไลน์ต่าง ๆ ก็ควรตรวจสอบให้ดี อย่าหลงเชื่อเรื่องราวต่าง ๆ ง่าย ๆ และอย่าโอนเงินให้ใครโดยเด็ดขาด
แอดเหยี่ยวหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! ตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
GVD Markets ออกคำเตือนด่วนถึงนักเทรดทั่วโลก หลังพบเว็บไซต์ปลอมในอินโดนีเซียแอบอ้างชื่อและโลโก้ของบริษัท เพื่อหลอกลวงให้ผู้ใช้ฝากเงิน ก่อนยึดทรัพย์สินโดยผิดกฎหมาย เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงิน GVD Markets จึงร่วมกับ WikiFX เร่งตรวจสอบ พร้อมแนะนำให้นักเทรดตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ และรายงานกิจกรรมต้องสงสัยทันที เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงออนไลน์ในอนาคต
Michael Bamber เทรดเดอร์สายกองทุน แชร์ 5 หลักการเร่งเส้นทางสู่ความสำเร็จในตลาด Forex โดยไม่ต้องลองผิดลองถูกนานปี เน้นวินัย ระบบความเสี่ยงที่ชัดเจน คุมขาดทุนรายวัน มีกลยุทธ์สำรอง และควบคุม Drawdown จุดสำคัญคือ “อยู่รอด” ไม่ใช่แค่ “ได้เยอะ” – เพราะตลาดมีทุกวัน แต่พอร์ตพังได้แค่ครั้งเดียว.
บทความนี้พาผู้อ่านไปรู้จักกับ “ดาร์กเว็บ” พื้นที่ลับของอินเทอร์เน็ตที่มักใช้ในการซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย เช่น บัญชีการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต และซอฟต์แวร์แฮกระบบ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเทรด โดยเฉพาะในยุคที่การลงทุนเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์อย่างแน่นแฟ้น บทความยังแนะนำวิธีป้องกันตัวเอง 5 ข้อ เช่น ใช้ 2FA และตั้งรหัสผ่านอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหลุดไปยังพื้นที่อันตรายเหล่านี้ พร้อมย้ำว่า “การรู้เท่าทัน” คือเกราะป้องกันชั้นแรกของนักลงทุนยุคดิจิทัล.
วงการคริปโตในไทยอาจได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ หลัง Binance มีแนวโน้มจะถอด “เงินบาท” ออกจากระบบซื้อขายแบบ P2P ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ก.ล.ต. ไทยออกมาตรการควบคุมธุรกรรมคริปโตอย่างเข้มงวด เพื่อต่อสู้กับบัญชีม้าและการฟอกเงิน โดย Binance ยังไม่ระบุวันชัดเจน แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อพฤติกรรมนักลงทุนและภาพรวมตลาดคริปโตในประเทศ.
FXCM
IB
FOREX.com
Neex
GO MARKETS
IC Markets Global
FXCM
IB
FOREX.com
Neex
GO MARKETS
IC Markets Global
FXCM
IB
FOREX.com
Neex
GO MARKETS
IC Markets Global
FXCM
IB
FOREX.com
Neex
GO MARKETS
IC Markets Global