简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ตลาด Forex ในปัจจุบันที่เปิดกว้างให้ใครก็สามารถเทรดค่าเงินได้ผ่านมือถือ มีจุดเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในอดีต โดยเฉพาะระบบ Bretton Woods ในปี 1944 ซึ่งกำหนดให้ทุกประเทศผูกค่าเงินกับดอลลาร์ และดอลลาร์ผูกกับทองคำ ก่อนที่สหรัฐฯ จะยกเลิกระบบดังกล่าวในปี 1971 ส่งผลให้ค่าเงินลอยตัวตามกลไกตลาด ตั้งแต่นั้นมา การเทรดค่าเงินที่เคยเป็นเรื่องของรัฐและสถาบันการเงิน ก็เริ่มเปิดกว้างขึ้นในยุคอินเทอร์เน็ต จนกลายเป็นตลาดระดับโลกมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ต่อวันในปัจจุบัน บทความชวนผู้อ่านมองย้อนอดีตเพื่อเข้าใจรากเหง้าของระบบการเงินโลก และตระหนักว่าการเทรดไม่ใช่แค่เรื่องกราฟ แต่คือผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงระดับโลกตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ลองจินตนาการดู...ถ้าย้อนเวลากลับไปเมื่อ 40-50 ปีก่อน แล้วคุณเดินเข้าไปบอกใครสักคนว่า “อีกหน่อยคนทั่วไปจะเทรดค่าเงินได้ผ่านมือถือ แค่เชื่อมเน็ตกับแอป” คุณอาจโดนหัวเราะกลับมาด้วยซ้ำ เพราะในยุคนั้น การซื้อขายค่าเงินเป็นเรื่องของแบงก์ใหญ่ รัฐบาล และข้อตกลงระหว่างประเทศเท่านั้น
แต่โลกการเงินมันไม่เคยอยู่นิ่ง และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีก่อน ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของตลาดเทรดระดับโลกที่เราใช้กันทุกวันนี้
บทความนี้ แอดจะพาย้อนรอยประวัติศาสตร์แบบสนุก ๆ ไม่ชวนง่วง ตั้งแต่วันที่ผู้นำโลกนั่งประชุมกันบนโต๊ะกลมที่ Bretton Woods จนมาถึงวันที่เทรดเดอร์เปิดออร์เดอร์ได้ในร้านกาแฟ เพราะถ้าจะเข้าใจ “เกมเงิน” ให้ดีจริง บางทีก็ต้องกลับไปดูตอนเริ่มเกมนั่นแหละ
ย้อนเวลากลับไปปี 1944 (ใช่ครับ เจ็ดสิบกว่าปีมาแล้ว) โลกเพิ่งผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 แบบหัวแตกกันมาเกือบทุกประเทศมหาอำนาจทั้งหลายเลยนัดประชุมกันที่เมือง Bretton Woods ในสหรัฐฯ เพื่อจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ สิ่งที่ออกมาคือ “ระบบ Bretton Woods” ที่พูดง่ายๆ คือ
เรียกได้ว่า ทุกสายตาในโลกการเงินเวลานั้น มองไปที่ “ทอง” กับ “ดอลลาร์” เป็นหลัก ใครจะคิดล่ะว่าวันหนึ่ง เทรดเดอร์วัยรุ่นจะมาเทรด AUD/JPY บนมือถือกันได้
แล้วก็เกิดดราม่าระดับโลกในปี 1971 ประธานาธิบดีนิกสันของสหรัฐฯ ลุกขึ้นมาประกาศว่า...
“ต่อไปนี้ ดอลลาร์จะไม่ผูกกับทองแล้วนะจ๊ะ”
แค่นั้นแหละครับ ระบบพังพินาศทันที โลกเข้าสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า Floating Exchange Rate หรือ “อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว” หมายถึง… ค่าเงินจะลอยไปลอยมา ตามอารมณ์ตลาด เศรษฐกิจ การเมือง และทวิตของนักการเมืองบางคน ใครจะขึ้นจะลง ไม่มีใครควบคุมได้อีกต่อไป
ในช่วงแรกของยุค Forex ลอยตัว สนามนี้ยังเป็นของ “พี่เบิ้ม” อย่างธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทข้ามชาติ คือพูดง่ายๆ คนธรรมดาอย่างเรานี่ อย่าหวังเข้าไปยุ่งได้เลย แต่พอเข้าสู่ยุค 90s – 2000s โลกเปลี่ยน…อินเทอร์เน็ตมา, คอมพิวเตอร์มา, แพลตฟอร์มเทรดก็มา โบรกเกอร์ออนไลน์เริ่มเปิดให้เทรดด้วยเงินหลักร้อย หลักพัน จากนั้นไม่นาน… แอดก็เห็นคนเปิดพอร์ตจากคาเฟ่ เอา iPad เทรดทอง พร้อมจิบลาเต้
วันนี้ ตลาด Forex คือ
และทุกอย่างนี้… เริ่มมาจากการเปลี่ยนแปลงในอดีต ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้
.
ตลาดเทรดค่าเงินที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพราะใครสักคนอยาก “เล่นกราฟ” แต่มันเกิดจากความปั่นป่วนระดับโลก จากวันที่ผู้นำประเทศเลิกผูกพันกับทองคำ จากวันที่สหรัฐอเมริกาเปิดประตูให้ค่าเงิน “ลอยตัว” ได้อย่างเสรี และจากวันที่นักลงทุนเริ่มมองเห็นโอกาสในสิ่งที่เคยเป็นเรื่องของรัฐเท่านั้น
กว่าเทรดเดอร์รายย่อยอย่างเราจะเข้าถึงตลาดนี้ได้ ก็ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยาวนานหลายทศวรรษ สิ่งที่แอดอยากชวนคิดก็คือ การเทรด ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของตัวเลขบนหน้าจอ แต่มันคือการเข้าใจว่า “โลกทั้งใบ” ขับเคลื่อนด้วยอะไร และเมื่อเรารู้ว่าตลาดที่เราอยู่มีต้นกำเนิดอย่างไร เราก็อาจอ่านเกมได้ดีขึ้นกว่าคนที่แค่จ้องกราฟอย่างเดียว เพราะบางที… การเข้าใจ “อดีตของตลาด” อาจช่วยให้เรารอดใน “อนาคตของมัน” ก็ได้นะครับ
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
รีวิวโบรกเกอร์
รีวิวโบรกเกอร์
รายงาน Non-Farm Payrolls ของสหรัฐฯ เป็นข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามองทุกเดือน เนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อทิศทางดอกเบี้ยและตลาดการเงินโลกในทันที ตัวเลขการจ้างงาน อัตราว่างงาน และค่าแรงเฉลี่ย เป็นตัวชี้วัดสุขภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อนโยบายของ Fed หากตัวเลขออกมาดีกว่าคาด ตลาดมักตีความว่า Fed อาจขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ตัวเลขต่ำกว่าคาดอาจนำไปสู่การผ่อนคลายนโยบายการเงิน นักลงทุนควรติดตามตัวเลขคาดการณ์ เปรียบเทียบกับผลจริง และพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจเพื่อวางกลยุทธ์การลงทุนอย่างรอบคอบ
รีวิวโบรกเกอร์
IB
FOREX.com
FXCM
IC Markets Global
GTCFX
FBS
IB
FOREX.com
FXCM
IC Markets Global
GTCFX
FBS
IB
FOREX.com
FXCM
IC Markets Global
GTCFX
FBS
IB
FOREX.com
FXCM
IC Markets Global
GTCFX
FBS